สูตรห้าประการ: สุขภาพและความแข็งแรง

โดย ปีเตอร์ อัมสเตอร์ดัม

กรกฎาคม 11, 2014

ท่านที่รัก ข้าพเจ้าอธิษฐานขอท่านจำเริญขึ้นในทุกสิ่ง และมีสุขภาพดี เหมือนอย่างที่จิตวิญญาณของท่านจำเริญอยู่นั้น[1]

ร่างกายของเราคือวิหารของพระวิญญาณบริสุทธิ์[2] และพระเจ้ามอบหมายให้เราดูแลร่างกายของเราอย่างดี ด้วยความสัตย์ซื่อ เราได้รับมอบหมายให้ถวายสง่าราศีแด่พระเจ้าในร่างกายของเรา[3] เพราะว่าเราถูกไถ่ตัวไว้ พระเยซูยอมเสียค่าแลกเปลี่ยนสูง เพื่อให้เราเป็นของพระองค์ ดังนั้นเราควรจะพยายามดูแลสุขภาพของเรา ตามที่จำเป็น

สุขภาพของเรามีความสำคัญ ซึ่งเราก็ทราบดี นี่ไม่ใช่แง่คิดใหม่ สุขภาพมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ ความสามารถในการหาเลี้ยงชีพ การดูแลเอาใจใส่ครอบครัว และการรับใช้ชุมชน

การทำส่วนของเราในการดูแลสุขภาพ เป็นความท้าทายเสมอสำหรับมาเรียและผม ผมเดาว่าคงเป็นเช่นนั้นสำหรับคุณด้วย เมื่อนึกถึงเรื่องนี้ ผมคิดว่าคงเป็นการดีที่จะทบทวนคร่าวๆ เกี่ยวกับหลักสำคัญเรื่องสุขภาพและความแข็งแรง ซึ่งอาจมีประโยชน์ ผมขอสรุปเป็นองค์ประกอบสำคัญห้าประการ ทว่าสุดแล้วแต่สถานการณ์และความจำเป็นด้านสุขภาพของคุณเอง คุณอาจได้รับการนำพาให้ใส่ใจในบางข้อมากกว่าข้ออื่นๆ

นอกจากนี้ ผมยอมรับว่าไม่ใช่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในด้านสุขภาพและความแข็งแรง ผมไม่ใช่แพทย์หรือครูฝึกส่วนตัว องค์ประกอบห้าประการที่ผมครอบคลุม เป็นคำแนะนำคร่าวๆ ที่ครอบคลุมบางประเด็น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถือว่าเป็นพื้นฐานเรื่องสุขภาพและความแข็งแรง อย่างไรก็ตาม ผมขอแนะนำให้แสวงหาพระองค์ว่าสิ่งใดมีความสำคัญเป็นอันดับแรกสำหรับคุณ สุดแล้วแต่วัย สุขภาพโดยรวม และภาวะเจ็บป่วยทางกาย นอกจากนี้ผมขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านโภชนาการ หรือกิจวัตรด้านสุขภาพ จะมีความเห็นที่เป็นข้อโต้แย้งและแตกต่างกันเสมอ ในเรื่องสุขภาพ ก็เช่นเคย คุณต้องตัดสินใจเอง โดยยึดพื้นฐานว่าอะไรได้ผลสำหรับคุณ และร่างกายของคุณ โดยคำนึงถึงสภาพการณ์ และความจำเป็นด้านสุขภาพของคุณ

พระองค์สอนเราให้รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง[4] คิดดูสิว่าเราควรจะรักตัวเอง และดูแลร่างกายของเราอย่างดี สุขภาพคือผลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการรักตัวเอง และการเห็นคุณค่าชีวิตที่พระเจ้ามอบให้เราเป็นของขวัญ

ถ้าคุณเป็นเหมือนผม คุณคงอดไม่ได้ที่จะรู้สึกว่าคุณไม่มีเวลาใส่ใจกับเรื่องนี้ เพราะค่าใช้จ่ายสูง หรือต้องใช้เวลานานเกินไป คงเป็นการดิ้นรนต่อสู้ที่จะจัดเวลาเพื่อลงทุนกับสุขภาพ บางครั้งผมรู้สึกเช่นนั้น ทว่าผลที่สุดการพยายามรักษาสุขภาพที่ดี ก็ช่วยป้องกันไม่ให้สุขภาพเสื่อมโทรม ซึ่งจะก่อความยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า ถ้าคุณเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่ร้ายแรง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงในบั้นปลาย ไม่ว่าจะเป็นค่าบำบัดรักษา หรือช่วงเวลาการฟื้นตัว

ขอให้เราพิจารณาห้าประเด็น ในสูตรการมีสุขภาพที่ดีและความแข็งแรง

ประเด็นที่ 1: ตัดสินใจเลือกเพื่อสุขภาพ

กุญแจสำคัญประการหนึ่งในการรักษาสุขภาพและความแข็งแรง คือ อาหารที่คุณเลือกทาน พระคัมภีร์กล่าวว่า

“เหตุฉะนั้นเมื่อท่านจะรับประทาน จะดื่ม หรือจะทำอะไรก็ตาม จงกระทำเพื่อเป็นการถวายเกียรติแด่พระเจ้า”[5]

ในช่วงยี่สิบสามสิบปีที่ผ่านมา มีโภชนาหารที่นิยมชมชอบ และปรัชญาการกินนานัปการ ทว่าเมื่อมีการค้นคว้าเพิ่มเติม คำแนะนำเรื่องการทานอาหารที่มีประโยชน์บางอย่างก่อนหน้านั้น ก็มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ก่อนหน้านี้มีการเน้นอย่างมากเรื่องการทานอาหารไขมันต่ำ ซึ่งยังผลให้ผู้คนทานน้ำตาลเพิ่มขึ้นมาก รวมทั้งอาหารสำเร็จรูป และธัญพืช (เช่น ขนมปัง พาสต้า ฯลฯ) แต่ผลลัพธ์โดยรวมไม่ค่อยดีนัก

ถ้าคุณอยากเลือกอาหารที่มีความสมดุล ซึ่งนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีโดยทั่วไป ส่วนใหญ่คุณก็คงจะ

ประเด็นที่ 2: รักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม

ถ้าคุณดิ้นรนต่อสู้กับน้ำหนักส่วนเกิน หรือโรคอ้วน เมื่อนั้นคุณก็ทราบว่าเป็นการสู้ศึกหนัก ผมต้องใส่ใจกับน้ำหนักของผม หาไม่แล้วก็มีแนวโน้มที่น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น

การมีน้ำหนักเกินเป็นปัญหาที่ส่งผลกว้างไกล ตามรายงานจากบีบีซี เมื่อไม่นานมานี้ มีคนเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นสี่เท่าตัวในทั่วโลก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980[6]

การมีน้ำหนักตัวมากเกินหรือโรคอ้วน คือองค์ประกอบสำคัญที่มีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น

การมีน้ำหนักตัวมากเกินและโรคอ้วน (รวมทั้งโรคที่มีอาการเกี่ยวโยงกัน) ส่วนมากแล้วสามารถป้องกันได้ การแก้ไขสภาวะเช่นนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก ทว่าด้วยความปรานีและความช่วยเหลือของพระเจ้า ก็เป็นไปได้ พระคัมภีร์สัญญาไว้ว่า “อย่าอ่อนใจในการทำดี เมื่อถึงเวลาอันควร เราจะเก็บเกี่ยวผล ถ้าเราไม่ล้มเลิก”[7]

ประเด็นที่สาม ผมกล้าพูดได้ว่าเราทุกคนต่างก็ดิ้นรนต่อสู้เป็นครั้งคราว...

ประเด็นที่ 3: ออกกำลังกายเป็นประจำ

สิ่งที่ “ต้องทำ” อีกอย่างหนึ่ง ถ้าคุณอยากรักษาน้ำหนักตัวในระดับที่ช่วยให้มีสุขภาพดี คือ การออกกำลังกาย ทว่านั่นไม่ใช่ผลประโยชน์อย่างเดียว การออกกำลังกายยังเสริมสร้างสุขภาพในหลายๆ ด้านอีกด้วย

การออกกำลังกาย

ผมขอยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะออกกำลังกายเป็นประจำ เราต่างก็มีข้ออ้างมากมาย ถ้าเป็นไปได้ก็มีส่วนช่วยที่จะค้นพบว่าการเคลื่อนไหวชนิดใดที่คุณชื่นชอบ เพื่อคุณจะได้ตั้งตารอคอยที่จะออกกำลังกาย ขอให้พยายามสนุกกับการออกกำลังกาย

อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยได้จริงๆ คือ มีเพื่อนออกกำลังกายด้วย แน่นอนที่ผมทราบว่าไม่เป็นไปได้เสมอไป ทว่าเมื่อเป็นไปได้ การมีเพื่อนร่วมออกกำลังกายด้วย ไม่แต่เพียงสนุก ทว่าเพื่อนร่วมออกกำลังกายยังช่วยให้เราสำนึกถึงความรับผิดชอบ

กุญแจสำคัญคือการแข็งขันเข้าไว้ ด้วยการเคลื่อนไหว และเคลื่อนไหวบ่อยๆ “รายงานจากเมโยคลินิก ระบุว่าขณะนี้ การนั่งเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ การนั่งนานเกินไป คือนั่งทีละสามถึงสี่ชั่วโมง เปรียบได้กับการสูบบุหรี่หนึ่งห่อครึ่งต่อวัน”[9]

คุณเลือกออกกำลังประเภทใด และเข้มข้นแค่ไหน เป็นเรื่องเฉพาะตัว สุดแล้วแต่วัย ความชอบ โอกาสที่เอื้ออำนวย สภาวะหรือขีดจำกัดทางร่างกาย ทว่าโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความสมดุล ควรประกอบด้วยกิจกรรมต่อไปนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

บ่อยครั้งเราลืมไปว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะออกกำลังกายบ่อยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ โดยออกกำลังกายกลางแจ้งเพื่อรับแสงแดด เมื่อผิวหนังได้รับแสงแดด นี่เป็นวิธีเดียวที่ช่วยให้แน่ใจว่าคุณได้รับวิตามินดีเพียงพอ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการมีสุขภาพที่ดี

ต่อไปเป็นประเด็นที่สี่ ได้แก่

ประเด็นที่ 4: ลดความเครียด

เกิดความเครียดในชีวิตเรา อันเป็นผลมาจากความห่วงใยต่างๆ นานา เช่น ความเจ็บป่วย อาการเจ็บปวดเรื้อรัง ปัญหาการเงิน เรื่องงาน ความสัมพันธ์ที่ขัดแย้ง ผู้ปกครองมีปัญหา และอื่นๆ

ความเครียดที่ยืดเยื้อเรื้อรังจัดได้ว่าเป็นต้นตอปัญหาร้ายแรงมากมาย

“ถ้าไม่ได้รับการบำบัด ความเครียดจัดตลอดเวลาอาจกลายเป็นอาการเรื้อรัง ซึ่งอาจยังผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง รวมไปถึงความกลัดกลุ้ม การนอนไม่หลับ อาการปวดกล้ามเนื้อ ความดันโลหิตสูง และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง การค้นคว้าวิจัยแสดงให้เห็นว่าความเครียดอาจมีส่วนให้เกิดโรคร้าย เช่น โรคหัวใจ โรคซึมเศร้า และโรคอ้วน หรือทวีความร้ายแรงของโรคที่เป็นอยู่แล้ว”[10]

การลดความเครียดในชีวิตเรา บรรลุผลได้จากหลายวิธี เราแต่ละคนต้องค้นพบว่าอะไรที่ใช้ได้ผลสำหรับเราเป็นส่วนตัว บ่อยครั้งผมรู้สึกเครียด เมื่อหักโหม ทำงานยุ่งเกินไป หรือมีการนัดหมายและพันธะหน้าที่มากเกินไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ผมพบว่าตัวเองเครียด ผมจึงพยายามชลอฝีเท้าลง พักผ่อนหย่อนใจมากขึ้น และใช้เวลากับพระองค์มากขึ้น แน่นอนว่าการมีศรัทธาจะช่วยลดความเครียด โดยทำให้เกิดความสงบในความคิดจิตใจ ร่างกาย และวิญญาณ

ประเด็นสำคัญคือ เราต้องตระหนักว่าความเครียดเรื้อรังไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่ใช่ “เหรียญตรา” หรือสัญลักษณ์ว่าเราดำเนิน “ชีวิตที่เสียสละ” เราต้องตรวจสอบและลดความเครียด ถ้าต้องการมีสุขภาพดีและแข็งแรงให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

คำสัญญาที่เป็นกำลังใจสองข้อจากพระคัมภีร์ ซึ่งผมพบว่ามีส่วนช่วยได้ ในการนำมาเอ่ยอ้างเมื่อรู้สึกเครียด ได้แก่

ฝากภาระไว้กับพระเยโฮวาห์ แล้วพระองค์จะค้ำจุนท่าน พระองค์จะไม่ยอมให้คนชอบธรรมสั่นคลอน” (เพลงสดุดี 55:22)

“อย่ากลัวเลย เพราะเราอยู่กับเจ้า อย่าท้อใจ เพราะเราเป็นพระเจ้าของเจ้า เราจะหนุนกำลังเจ้า เราจะช่วยเจ้า เราจะยกชูเจ้า ด้วยมือขวาแห่งความชอบธรรมของเรา” (อิสยาห์ 41:10)

อีกแง่มุมหนึ่งที่สำคัญในการลดความเครียด คือ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วประมาณคืนละเจ็ดถึงเก้าชั่วโมง การนอนไม่พอตลอดเวลาอาจกระตุ้นหรือทวีความรุนแรงของสภาวะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัย เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคความจำเสื่อม การนอนน้อยเกินไปอาจยังผลให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรัง คิดอะไรไม่ออก ความจำไม่ดี มีการตอบสนองช้าลง เครียดมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ แม้แต่การกินมากเกินควร ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคอ้วน

ดังนั้นถ้าคุณทำงานหรือเรียน“จนดึก” ทุกวัน จนเป็นนิสัย แม้แต่ทำกิจกรรมหย่อนใจ เช่นดูทีวี คุณควรจะพิจารณาตารางเวลาเพื่อดูว่าคุณจะนอนหลับให้ได้คุณภาพมากขึ้นเป็นประจำอย่างไร มีคำสัญญาที่น่าปลอบใจในพระคำ เรื่องการพักผ่อนนอนหลับ ซึ่งเราเอ่ยอ้างได้ เช่น “สรรเสริญองค์พระองค์ผู้ประทานการหยุดพักแก่ผู้คนของพระองค์”[11] สุภาษิต 3:24 กล่าวว่า “เมื่อเจ้านอนลง เจ้าจะหลับสบาย”

ประเด็นสุดท้าย...

ประเด็นที่ 5: ชื่นชมชีวิต มีความสุข และมีมุมมองเป็นบวก!

ผมขอส่งเสริมให้คุณคงไว้ซึ่งความศรัทธา เน้นแง่บวก และฉลองชัยชนะ ดังที่แนะนำไว้ในฟิลิปปี ว่า

“สิ่งใดจริง สิ่งใดน่านับถือ สิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดบริสุทธิ์ สิ่งใดน่ารัก สิ่งใดน่าฟัง คือ ถ้ามีสิ่งใดล้ำเลิศ สิ่งใดควรสรรเสริญ ขอให้ใคร่ครวญดู”[12]

ต่อไปนี้เป็นการมองลึกที่น่าสนใจ จากบทความชื่อ “ความสุขคือกุญแจสู่ชีวิตยืนยาว”

ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยอีราสมุส ที่ร็อตเตอร์ดัม [แถลงว่า] “ความสุขไม่ได้ช่วยเยียวยา ทว่าความสุขป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย...

หลังจากทบทวนผลการศึกษา 30 ครั้ง ซึ่งดำเนินการทั่วโลก ในช่วงระยะหนึ่งปี ถึง 60 ปี ศาสตราจารย์ชาวดัชท์ กล่าวว่าความสุขส่งผลกระทบต่อการมีอายุยืนยาว เปรียบได้กับผลจากการสูบบุหรี่ หรือไม่สูบบุหรี่

เขาบอกว่าความสามารถพิเศษในการรู้สึกดีๆ อาจช่วยให้อายุยืนอีก 7.5 ถึง 10 ปี...

คนที่มีความสุขมีแนวโน้มที่จะระวังเรื่องน้ำหนักตัวมากกว่า เขาเล็งเห็นอาการเจ็บป่วยได้ดีขึ้น เขาค่อนข้างจะมีความพอประมาณมากกว่าในเรื่องการสูบบุหรี่และการดื่ม โดยทั่วไปแล้วเขามีชีวิตที่สมบูรณ์กว่า

นอกจากนี้เขามีความแข็งขันมากกว่า เปิดโลกทัศน์มากกว่า เชื่อมั่นในตัวเองมากกว่า เลือกทางที่ดีกว่า และสร้างเครือข่ายทางสังคมมากกว่า[13]

ผมขอแนะนำให้คุณปลีกเวลาอธิษฐานเกี่ยวกับสถานการณ์ส่วนตัว และระดับสุขภาพของคุณ เพื่อดูว่าพระองค์จะชี้แนะให้คุณปรับปรุงด้านใดบ้าง อย่างไรก็ตาม ขอให้พยายามหลีกเลี่ยงการทำอะไรสุดขีด การปรับเปลี่ยนในระดับที่พอทำได้ ซึ่งช่วยให้เป็นไปได้ที่จะทำต่อไป ก็ดีกว่าการพยายามเริ่มยกเครื่องสุขภาพและมาตรฐานการออกกำลังในปัจจุบันอย่างกลับตาลปัตร ขอให้ค่อยๆ เริ่มการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ อย่าทำอะไรที่ตัวเองจะต้องผิดหวัง เพราะการแบกภาระที่เหนือบ่ากว่าแรง ส่วนที่ดีขึ้นก็ถือว่าควรค่าแล้ว และน่าจะฉลองชัยชนะ

ขอสรุปการทบทวนประเด็นพื้นฐานห้าประการ เพื่อสุขภาพที่ดีและแข็งแรง

  1. ตัดสินใจเลือกเพื่อสุขภาพ
  2. รักษาน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
  3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
  4. ลดความเครียด
  5. ชื่นชมชีวิต มีความสุข และมีมุมมองเป็นบวก

ผมขอปิดท้ายด้วยข้อความช่วงแรก ในหนังสือที่เขียนโดย ริค วาร์เรน เรื่อง แผนของดาเนียล

สุขภาพเป็นยิ่งกว่าโปรแกรม สุขภาพมาจากการสำนึกและการใช้พลังของพระเจ้าในชีวิตคุณ โดยการปฏิบัติต่อร่างกายและความคิดด้วยความเอาใจใส่ ตามที่พระองค์มุ่งหมายไว้

พระองค์นำทางไปที่ใด พระองค์จะจัดหาปัจจัยให้ที่นั่น พระองค์มอบหมายให้คุณทำอะไร พระองค์ก็จะหาเครื่องมือให้พร้อมสรรพ พระองค์ไม่ต้องมีกำลังวังชาและพลังใจของคุณ ทว่าพระองค์ต้องได้รับคำมั่นจากคุณ พระองค์ต้องการให้คุณดำเนินชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งรวมถึงการมีศรัทธาแรงกล้า มีร่างกายกระฉับกระเฉง และสมองกระปรี้กระเปร่า ทว่าคุณต้องพึ่งพาพระเยซู

พวกเราหลายคนเลือกสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งทำให้เราไม่มีพลังความคิด หมดเรี่ยวแรงหรือพลังจิต ที่จะอ้าแขนรับสิ่งที่พระเจ้าให้เราทำบนดาวพระเคราะห์ดวงนี้.... แต่ยังไม่สายเกินไป

คุณต้องเชื่อว่าคุณมีสุขภาพดีได้ ถึงแม้ว่าคุณยังมองไม่เห็น ฮีบรู 11:1 กล่าวว่า “ศรัทธาคือความแน่ใจในสิ่งที่หวังไว้ และมั่นใจในสิ่งที่มองไม่เห็น”

...คุณจะไม่มีวันบรรลุผลสูงสุดในการมีสุขภาพดีเยี่ยม ถ้าไม่ใส่ใจต่อมิติทางวิญญาณในชีวิตคุณ ... [กุญแจสำคัญ] คือ ไม่ใช่การพยายามใช้จิตวิทยากับตัวเอง ทว่าผ่อนคลายด้วยความปรานีของพระเจ้า เพื่อพระองค์จะได้ทำผ่านคุณ ในสิ่งที่พระองค์ปรารถนาจะทำ[14]

การมีสุขภาพดี และทำตามแผนการชั่วชีวิต ในการออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก เลือกทานอาหารด้วยสติปัญญา และวิถีชีวิตที่มีความสมดุลนั้น เหนือกว่าที่เราจะทำได้ด้วยความตั้งใจและวินัยของตนเอง เราต้องมีพละกำลังและความพากเพียรของพระเจ้า ซึ่งพระองค์ยินดีมอบให้เรา ในฟิลิปปี 4:13 สัญญาไว้ว่า

"ข้าพเจ้ากระทำทุกสิ่งได้โดยพระองค์ผู้ชูกำลังข้าพเจ้า” ถึงแม้คุณรู้สึกว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะกำหนดและดำเนินวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีโดยรวม ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับพระเจ้า พระเยซูกล่าวว่า “สำหรับมนุษย์เป็นไปไม่ได้ ทว่าสำหรับพระเจ้าแล้ว ทุกสิ่งเป็นไปได้”[15]

ผมขอส่งเสริมให้คุณหมายพึ่งพระองค์ และพละกำลังของพระองค์ เพื่อมอบความอดทน แรงบันดาลใจ และความพากเพียรที่จำเป็น พระองค์ช่วยเราแต่ละคนอยู่แล้ว ในการตัดสินใจที่ดีๆ หลายอย่าง ในชีวิตเรา และพระองค์ยังคงกระตือรือร้นที่จะทำงานกับเรา เพื่อเราจะได้ทำความคืบหน้าต่อไป

“พระองค์ผู้ตั้งต้นการดีในตัวท่าน จะบันดาลให้สำเร็จจนถึงวันแห่งพระเยซูคริสต์”[16]

นั่นเป็นสิ่งแสนวิเศษ! สรรเสริญพระองค์!


[1] 3 ยอห์น 2

[2] 1 โครินธ์ 3:16-17

[3] 1 โครินธ์ 6:19-20

[4] มัทธิว 22:39

[5] 1 โครินธ์ 10:31

[6]Obesity quadruples to nearly one billion in developing world,” (โรคอ้วนเพิ่มขึ้นสี่เท่าตัว เกือบหนึ่งพันล้านคน ในโลกที่กำลังพัฒนา) ข่าวบีบีซี วันที่ 2 มกราคม ค.ศ.2014 นำข้อมูลมาใช้เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ.2014

[7] กาลาเทีย 6:9

[8] รายการนี้มาจากหนังสือของ ริค วาร์เรน เรื่อง The Daniel Plan: 40 Days to a Healthier Life (แผนของดาเนียล:40 วันสู่ชีวิตที่มีสุขภาพดีขึ้น (แกรนด์ราปิดส์ มิชิแกน: สำนักพิมพ์ซอนโดแวน ค.ศ. 2013) หน้า 41

[9] หน้า 163 จากบทความ โดย เจมส์ วลาโชส  “Is Sitting a Lethal Activity?” (การนั่งเป็นกิจกรรมที่ส่งผลร้ายแรงถึงชีวิตหรือ) เดอะนิวยอร์กไทม์  วันที่ 14 เมษายน ค.ศ.2011

[10] อเล็กซานดรา ซิฟเฟอร์ลิน ในบทความชื่อ “The Most Stressed-Out Generation? Young Adults” (หนุ่มสาวเป็นคนรุ่นที่เครียดที่สุดหรือ) ไทม์  วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2013  นำข้อมูลมาใช้ วันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ.2014

[11] 1 พงศ์กษัตริย์ 8:56

[12] ฟิลิปปี 4:8

[13] “Happiness is key to longer life” (ความสุขคือกุญแจสู่ชีวิตที่ยืนยาว) โดย เอเอฟพี วันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ.2008

[14] วาร์เรน ในเรื่อง Daniel Plan (แผนของดาเนียล) หน้า 33–34, 52

[15] มัทธิว 19:26

[16] ฟิลิปปี 1:6

Copyright © 2024 The Family International. นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการใช้งานคุกกี้