อิมมานูเอล

โดย ปีเตอร์ อัมสเตอร์ดัม

ธันวาคม 8, 2015

คริสต์มาสเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่มีนัยสำคัญมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ เมื่อพระเจ้ามาสู่โลกวัตถุ ในร่างพระบุตรของพระองค์ คือพระเยซู พระกิตติคุณของมัทธิวกล่าวว่า เหตุการณ์ที่นำไปสู่การประสูติของพระเยซู เกิดขึ้นจริงตามที่พระองค์กล่าวผ่านผู้พยากรณ์ “หญิงพรหมจารีจะตั้งครรภ์และคลอดบุตรชาย เขาจะเรียกท่านว่า อิมมานูเอล” (ซึ่งแปลว่าพระเจ้าสถิตอยู่กับเรา)[1]

ในพระคัมภีร์เดิม เราอ่านเกี่ยวกับการที่พระเจ้าสถิตอยู่ท่ามกลางผู้คนของพระองค์ การที่พระองค์สถิตอยู่ “กับเรา” เราเห็นได้จากเรื่องราวในสวนเอเดน ที่ซึ่งพระเจ้าสนทนากับอาดัมยามเย็น[2] ทั้งเสาเมฆและเสาเพลิง ซึ่งนำหน้าโมเสสและชนชาติอิสราเอลจากอียิปต์ ไปสู่ดินแดนแห่งคำสัญญา[3] รวมถึงหีบพันธสัญญา[4] และวิสุทธิสถาน[5] นอกจากนี้พระเจ้าให้ความอุ่นใจต่อผู้คนของพระองค์ ว่าพระองค์จะสถิตอยู่กับเขา เมื่อเขาออกไปสู้ศึก[6] รวมทั้งยามที่เขาหวาดกลัวหรือเผชิญหน้ากับเรื่องทุกข์ร้อนใจใหญ่หลวง[7]

ส่วนในพระคัมภีร์ใหม่ การที่พระเจ้าสถิตอยู่ด้วยมีความหมายใหม่ คือการจุติมาเกิด ตัวแทนของพระเจ้าในร่างที่พระเยซูถือกำเนิด การปฏิสนธิของพระองค์ไม่เหมือนใครอื่น ก่อนหน้าหรือหลังจากนั้น มารดาของพระองค์ คือนางมารี เป็นหญิงพรหมจารี ผู้หมั้นหมายกับโจเซฟ ช่างไม้ชาวยิว แต่ยังไม่ได้แต่งงาน ทูตสวรรค์มาหานางมารี กล่าวว่าเธอจะตั้งครรภ์และคลอดบุตรชาย พระองค์จะยิ่งใหญ่ และได้ชื่อว่าพระบุตรของพระเจ้าผู้สูงสุด พระเจ้าจะมอบบัลลังก์ของดาวิด คือบรรพบุรุษของพระองค์ ให้แก่พระองค์ และพระองค์จะครอบครองพงศ์พันธุ์ของยาโคบสืบไป อาณาจักรของพระองค์จะไม่มีวันสิ้นสุด[8]

เมื่อเธอถามว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเธอเป็นหญิงพรหมจารี ทูตสวรรค์ตอบว่า “พระวิญญาณบริสุทธิ์จะลงมาเหนือเธอ และพลังอำนาจของพระผู้สูงสุดจะปกคลุมเธอไว้ ดังนั้นองค์บริสุทธิ์ที่ประสูติ จะได้ชื่อว่า พระบุตรของพระเจ้า”[9] เก้าเดือนต่อมา บุคคลผู้มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนใคร ผู้เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ ได้บังเกิด คือ อิมมานูเอล “พระเจ้าสถิตอยู่กับเรา”

สิ่งที่ประจักษ์ชัดบางอย่างในการที่ “พระเจ้าสถิตอยู่กับเรา” เห็นได้ผ่านการกระทำของพระเยซู ซึ่งสะท้อนถึงคุณสมบัติของพระเจ้า อาทิเช่น

พระเยซูบอกให้เราทราบถึงวิสัยของพระเจ้า ผ่านคำสอนของพระองค์ เล็งเห็นได้โดยเฉพาะในคำอุปมาอุปไมย ซึ่งสะท้อนแง่มุมต่างๆ ในธรรมชาติของพระเจ้า เช่น

พระเยซู คือ “พระเจ้าสถิตอยู่กับเรา” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าจะยอมทำจนถึงที่สุด เพื่อให้มนุษย์สมานไมตรีกับพระองค์ โดยลิขิตให้พระองค์ ในร่างบุตรของพระเจ้า รับโทษแทนบาปของมนุษย์ เพื่อเราจะได้อยู่กับพระองค์ตลอดไป

ส่วนต่อเนื่องของการที่ “พระเจ้าสถิตอยู่กับเรา” เห็นได้จากการที่พระเยซูส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มาสถิตในผู้มีความเชื่อ หลังจากที่พระองค์สิ้นชีวิตและฟื้นคืนชีพ

เราจะขอพระบิดา และพระองค์จะมอบผู้ช่วยให้มาอยู่กับพวกท่านตลอดไป คือพระวิญญาณแห่งความจริง ชาวโลกไม่อาจรับพระองค์ไว้ เพราะชาวโลกไม่เห็นและไม่รู้จักพระองค์ แต่ท่านรู้จักพระองค์ เพราะพระองค์สถิตอยู่กับพวกท่าน และจะอยู่ในใจท่าน[39]

ท่านไม่รู้หรือว่าท่านเป็นวิหารของพระเจ้า และพระวิญญาณของพระเจ้าสถิตอยู่ในใจท่าน ... ท่านไม่รู้หรือว่าร่างกายท่านเป็นวิหารของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ผู้สถิตในท่าน ซึ่งท่านได้รับจากพระเจ้า[40]

เพราะท่านเป็นบุตร พระเจ้าจึงให้พระวิญญาณพระบุตรของพระองค์เข้ามาในใจเรา ผู้ร้องเรียกว่า “อับบา! บิดา!”[41]

คริสต์มาสคือการฉลองวันที่ “พระเจ้าสถิตอยู่กับเรา” การที่พระบุตรของพระเจ้าประสูติ พระบุตรผู้จุติมาเกิด ผู้มีชีวิตและยอมตาย เพื่อช่วยให้เป็นไปได้ที่เราจะสานสัมพันธ์กับพระเจ้า และพระวิญญาณของพระเจ้าจะได้สถิตอยู่ในเรา เป็นการฉลองเทศกาลที่น่ายินดี!

ช่วงคริสต์มาส และวันอื่นๆ ทุกวันในรอบปี เราทุกคนที่มีพระวิญญาณของพระเจ้าสถิตอยู่ในเรา ถ้าจะว่ากันไปแล้วก็เป็นส่วนต่อเนื่องการที่ “พระเจ้าสถิตอยู่กับเรา” ในชุมชนของเรา เพื่อนมิตรและเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน ผู้คนที่ให้บริการเราในห้างร้าน คนแปลกหน้าผู้ที่พระองค์นำมาตามเส้นทางของเรา ความรักที่เราแสดงให้เห็นผ่านสัมพันธภาพกับผู้อื่น ถ้อยคำที่เรากล่าวและสิ่งที่เราทำ ความมีน้ำใจและความเอื้อเฟื้อ ความช่วยเหลือที่เราหยิบยื่นให้ สะท้อนให้เห็นพระวิญญาณบริสุทธิ์สถิตอยู่ในเรา คนอื่นๆ จะสำนึกได้ถึงสิ่งที่ไม่ธรรมดาและสิ่งที่พิเศษในใจเรา เมื่อเราอธิบายว่าพระเจ้าสถิตอยู่กับเรา และสถิตอยู่กับเขาได้ด้วย เราก็ช่วยให้บรรลุผลสูงสุดของวันคริสต์มาส

นี่คือช่วงเวลาแสนวิเศษในรอบปี ที่จะมอบพระกิตติคุณแก่ผู้อื่น เพื่อให้เขาทราบว่า พระเจ้ารักโลก จนได้มอบพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อใครก็ตามที่เชื่อในพระองค์ จะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์[42] เราแต่ละคนได้รับมอบหมายให้ทำเท่าที่ทำได้ เพื่อมอบข่าวว่า “พระเจ้าสถิตอยู่กับเรา” ให้แก่ผู้ที่จำเป็นต้องมีพระองค์



[1] มัทธิว 1:22-23

[2] ปฐมกาล 3:8

[3] อพยพ 13:21-22

[4] อพยพ 25:22

[5] อพยพ 26:34. ดู อพยพ 40:34–38 ด้วย

[6] พระบัญญัติ 20:1, 31:6; โยชูวา 1:9

[7] อิสยาห์ 41:10, 43:2

[8] ลูกา 1:31-33

[9] ลูกา 1:35

[10] มัทธิว 8:1–4; มาระโก 1:40–45; ลูกา 5:12–15, 17:12–14

[11] มาระโก 2:1–12

[12] มัทธิว 9:27–30, 20:30–34, 21:14; มาระโก 8:22–25, 10:46–52; ลูกา 18:35–43; ยอห์น 9:1–7

[13] มัทธิว 17:15–18; มาระโก 9:25–27

[14] มัทธิว 8:14–15; มาระโก 1:30–31; ยอห์น 4:46–53

[15] ลูกา 14:1–4

[16] มาระโก 7:32–37

[17] มัทธิว 12:22–23, 9:31–33; ลูกา 4:33–35, 8:27–35, 9:38–42

[18] มัทธิว 14:14–21; มาระโก 6:35–44; ลูกา 9:12–17; ยอห์น 6:5–13

[19] มัทธิว 15:32–38; มาระโก 8:2–9

[20] มัทธิว 14:22–33; มาระโก 4:35–41, 6:45–51; ลูกา 8:22–25; ยอห์น 6:16–21

[21] ลูกา 7:11–16

[22] มาระโก 5:22–23, 35–43

[23] ยอห์น 11:1–44

[24] มัทธิว 9:2–8; มาระโก 2:1–12; ลูกา 5:18–26, 7:44–50

[25] โคโลสี 1:19–22, 2:13–14; เอเฟซัส 2:13–19

[26] ลูกา 15:11–32

[27] ลูกา 11:5–8

[28] ลูกา 11:9–13; มัทธิว 7:9–11

[29] มัทธิว 18:12–13; ลูกา 15:4–7

[30] ลูกา 15:8–9

[31] มัทธิว 13:24–30

[32] มาระโก 4:26–29

[33] ลูกา 12:13–21

[34] มัทธิว 18:21–35

[35] ลูกา 16:19–31

[36] ลูกา 7:40–50

[37] ลูกา 10:25–37

[38] มัทธิว 20:1–16

[39] ยอห์น 14:16–17

[40] 1 โครินธ์ 3:16, 6:19

[41] กาลาเทีย 4:6

[42] ยอห์น 3:16

Copyright © 2024 The Family International. นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการใช้งานคุกกี้