หัวใจสำคัญ: บทนำ

โดย ปีเตอร์ อัมสเตอร์ดัม

เมษายน 12, 2011

สิ่งหนึ่งที่ผมพบว่าแสนวิเศษโดยเฉพาะ เกี่ยวกับพระเยซูก็คือ ขอกำนัลคือความรอดที่เปลี่ยนแปลงชีวิต ซึ่งพระองค์มอบให้เปล่าๆ แก่คนที่ขอด้วยความเชื่ออย่างจริงใจ คนเราอาจมีความเข้าใจต่อหลักความเชื่อของคริสเตียนน้อยมาก แต่ถ้าหัวใจหิวกระหาย ถ้าเขาแสวงหาสื่อสัมพันธ์กับพระเจ้า เขาก็จะพบแน่นอน นั่นเป็นสิ่งที่ชัดเจน เขาจะได้รับเปล่าๆ จากการรับพระเยซูไว้เป็นพระผู้ช่วยให้รอด ความรอดเป็นเรื่องง่ายๆ เป็นของกำนัล คุณเอื้อมมือไปรับไว้ แล้วก็จะเป็นของคุณ ช่างวิเศษจริงๆ!

แม้ว่าการรับความรอดจะเป็นเรื่องง่ายดาย ทว่าการที่จะมีความเข้าใจถ่องแท้ในความศรัทธาของคริสเตียน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ระบบความเชื่อของคริสเตียน ศาสนศาสตร์ และความเข้าใจพระคัมภีร์ ล้วนแต่เรียกร้องให้มีความรู้ในระดับหนึ่ง เป็นสิ่งสำคัญที่จะมีความรู้ดังกล่าว ซึ่งต้องอาศัยทั้งการศึกษาและการมีใจจดจ่อ การเติบโตทางวิญญาณเกิดจากการศึกษา และนำพระคำของพระเจ้ามาปรับใช้

การเรียนรู้อย่างลึกซึ้งถึงหลักคำสอนของคริสเตียน เป็นสิ่งที่ดี ทว่าไม่จำเป็นต่อการได้รับความรอด นี่ไม่ใช่หลักประกันว่าจะมีสื่อสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพระเจ้า คนเรารู้จักและรักพระเยซูได้ ในฐานะพระผู้ช่วยให้รอด โดยที่ไม่ต้องเข้าใจรายละเอียดปลีกย่อยในหลักคำสอนของคริสเตียน เพราะเขาได้สัมผัสพระองค์ คุณเชื่อได้ว่าพระเยซูคือพระผู้ช่วยให้รอด พระองค์คือพระเจ้า และพระองค์เคยอยู่บนโลกนี้ ถูกตรึงกางเขน สิ้นใจ ถูกฝัง และฟื้นคืนชีพ เพียงเพราะว่ามีคนบอกเล่าเรื่องราวเบื้องต้นนี้ให้คุณฟัง นี่ช่วยให้คุณมีความเข้าใจมากพอที่จะรับพระองค์ไว้เป็นพระผู้ช่วยให้รอด ฉะนั้นจึงช่วยให้คุณมีสื่อสัมพันธ์กับพระองค์เป็นส่วนตัว

ถึงแม้ว่าคุณไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงเหตุผลทุกอย่างของหลักคำสอน คุณก็มีศรัทธาที่มั่นคงในพระเจ้าได้ และรู้ว่าพระองค์อยู่เคียงข้าง คุณพูดคุยกับพระองค์ได้ในคำอธิษฐาน พระองค์ตอบรับคุณ คุณได้ยินเสียงพระองค์ พระองค์จัดหาปัจจัยให้คุณ เยียวยารักษาคุณ และมอบความรักให้คุณ คุณเชื่อมโยงกับพระองค์เป็นส่วนตัว คุณมีสัมพันธภาพและติดต่อสื่อสารกับพระองค์ คุณรู้ว่าพระองค์เคียงข้างคุณ พระองค์คือพระเจ้า พระองค์เที่ยงแท้ ไม่ใช่เพียงเพราะเรื่องราวที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์ เพื่อผลประโยชน์ของเรา แต่เพราะว่าพระองค์เป็นจริงในชีวิตคุณ คุณได้สัมผัสเป็นส่วนตัว

แน่นอนว่าสำคัญมากที่คุณจะคืบหน้าในความรู้เกี่ยวกับพระคำของพระเจ้า โดยเรียนรู้หลักคำสอน และเติบโตอย่างเต็มที่ในทางวิญญาณ จากการดำเนินชีวิตตามที่พระคำสอน การได้สัมผัสพระเจ้าเป็นสิ่งแสนวิเศษ ทว่าชีวิตทางวิญญาณของคนเราจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ถ้าปราศจากความศรัทธา ซึ่งมาจากการรู้พระคำ อีกแง่หนึ่งการมีความรู้เกี่ยวกับพระคัมภีร์ การศึกษาและรู้เรื่องศาสนศาสตร์ทะลุปรุโปร่งอย่างเดียว ยังไม่เพียงพอ คนเราต้องรู้จักท่านผู้ประพันธ์ด้วย

ฉันมีประสบการณ์แต่เยาว์วัย ฉันรู้สึกว่าพระเจ้ามอบหมายงานให้ ฉันไม่รู้แน่ชัดว่าจะตอบรับงานมอบหมายนั้นอย่างไร แต่ฉันรู้สึกได้ เมื่อฉันเติบโตเป็นวัยรุ่น ฉันไม่พบวิธีตอบรับ และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรที่ให้ความพึงพอใจ ฉันมีคำถามที่มีคนถามกันมานานแล้วว่า “ฉันมีชีวิตอยู่เพื่ออะไรกัน?” ฉันแสวงหา แต่ไม่พบคำตอบ

หลังจากที่เขาเป็นพยานกับฉันสามคืนติดต่อกัน ฉันเดินไปที่รถฉันคนเดียว ด้วยความรู้สึกเชื่อมั่นว่าฉันต้องเป็นสาวกของพระเยซู และตระหนักว่าฉันทำเช่นนั้นไม่ได้ นอกเสียจากว่าฉันจะมีความรอด ฉันอธิษฐานขอให้พระองค์เข้ามาในใจฉัน ทันทีที่ทำเช่นนั้น ฉันรู้ได้ว่ามีอะไรที่สำคัญเกิดขึ้นกับฉัน ฉันรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง รู้สึกว่าเสรีภาพ และมีวัตถุประสงค์ชัดเจน โดยเฉพาะมีสันติสุขอย่างลึกซึ้งในใจ ฉันรู้สึกตื้นตันใจ ฉันรู้สึกสบายใจ ฉันสำนึกทันทีว่าพระเยซูเข้ามาในชีวิตฉันจริงๆ ฉันมีความรอด ฉันไม่ต้องรู้อะไรอื่นอีก เพื่อจะได้รู้ว่าพระองค์มีจริง พระองค์คือพระเจ้า พระองค์มีอยู่จริง และได้เข้ามาในชีวิตฉัน ไม่จำเป็นต้องศึกษาศาสนศาสตร์ แม้กระทั่งความจริงเพิ่มเติมจากพระคัมภีร์ ในตอนนั้น เพื่อช่วยให้ฉันทราบเช่นนี้ พระองค์เป็นจริงสำหรับฉัน เพราะฉันได้สัมผัสพระองค์ ตอนนี้พระองค์มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตฉัน ฉันรู้สึกได้จากส่วนลึกในใจ ฉันรู้ว่าพระองค์รักฉัน ฉันรู้สึกถึงความรักของพระองค์ เท่านี้ก็พอแล้ว นับจากวันนั้นมาฉันรู้เสมอว่าพระองค์อยู่เคียงข้าง ฉันได้สัมผัสพระองค์ และจะสัมผัสพระองค์ต่อไป

นั่นไม่ได้หมายความว่าฉันไม่อ่านและศึกษาพระคัมภีร์ ฉันได้ทุ่มเทเวลาอย่างมากเพื่อซึมซับพระคำของพระเจ้า นับจากนั้นมา ซึ่งช่วยให้ฉันเติบโตในความศรัทธา และเข้าใจสื่อสัมพันธ์ที่มีกับพระเจ้า ในยุคสมัยนี้ เมื่อผู้คนทั่วไปได้รับข้อมูลสารพัดอย่าง หลายคนสงสัยข้องใจ บ่อยครั้งก็จำเป็นต้องมีคำอธิบายถึงความศรัทธาและการเป็นคริสเตียนในเชิงลึก ก่อนที่ใครสักคนจะเข้าใจว่าจำเป็น และรับความรอด มีผลประโยชน์ที่จะทราบและสามารถอธิบายถึงความศรัทธาของเราได้อย่างละเอียด รวมทั้งมีประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตที่เติมเต็มด้วยพระเยซู สองสิ่งนี้รวมกัน จะช่วยให้คุณเป็นพยานที่ทรงพลัง เมื่อชีวิตคุณแสดงผลจากความศรัทธาของคุณ และคุณสามารถบ่งบอกถึงความเชื่อของคุณได้อย่างชัดเจน นี่จะช่วยตอบคำถามของคนอื่นๆ

เมื่อเรามีความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น และทราบความจริง หลักการ และคำสอนที่เป็นพื้นฐานความศรัทธาของเรา ก็จะช่วยเสริมสร้างทั้งศรัทธาและการที่เราสามารถบ่งบอกอย่างชัดเจนถึงเหตุผลที่เรามีความศรัทธา นี่เป็นจริง โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน และช่วยให้เป็นไปได้ที่คุณจะ “เตรียมตัวไว้ให้พร้อมเสมอ เพื่อท่านจะได้ตอบทุกคนที่ถามท่าน” ซึ่งจะส่งผลให้คุณเป็นพยานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น[1]

บทความแรกๆ กล่าวถึงกลุ่มผู้มีความเชื่อสมัยแรกๆ บรรพบุรุษของผู้มีความเชื่อ และคริสเตียนในช่วงหกศตวรรษแรก ซึ่งเป็นศตวรรษที่มีการกำหนดหลักคำสอนสำคัญที่สุดอย่างชัดเจน หลักคำสอนเรื่องตรีเอกานุภาพ ความเป็นพระเจ้าของพระเยซู และการจุติลงมาเกิด คือการที่พระบุตรของพระเจ้ากลายเป็นมนุษย์ ซึ่งจะครอบคลุมไว้ในตอนแรกๆของเรื่องชุดนี้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีคำสอนอยู่ในพระคัมภีร์ใหม่ ซึ่งประกอบด้วยหนังสือในพระคัมภีร์ที่เขียนขึ้นตลอดชั่วชีวิตของอัครสาวกของพระเยซู อย่างไรก็ตาม หลายศตวรรษต่อมา หลังจากที่อัครสาวกเสียชีวิต ผู้นำภายในกลุ่มผู้มีความเชื่อต้องศึกษาหลักคำสอนที่อัครสาวกนำเสนอไว้ เพื่อหักล้างความเชื่อที่เกิดขึ้น ซึ่งขัดแย้งกับความจริงที่นำเสนอไว้ในพระคัมภีร์

พระคำของพระเยซูมีบันทึกอยู่ในบทพระกิตติคุณ และประกาศโดยผู้ที่ได้ยินถ้อยคำที่ป่าวประกาศอย่างชัดเจนถึงเรื่องพระเจ้า ซึ่งเป็นนิมิตใหม่ในสมัยนั้น เรื่องการที่พระเยซูพระบุตรของพระเจ้ามาบังเกิดในโลก การที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาในวันเพนตาคอส หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ นำมาซึ่งแง่คิดใหม่ๆเกี่ยวกับพระเจ้า ซึ่งไม่เคยเป็นที่เข้าใจในคัมภีร์ของชาวยิว ซึ่งในปัจจุบันเรารู้จักกันว่าเป็นพระคัมภีร์เดิม ในคัมภีร์ของชาวยิวอ้างอิงถึงแง่คิดใหม่เหล่านี้บางอย่าง ทว่าไม่เป็นที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ อย่างไรก็ตามหลังจากที่พระเยซูมีชีวิตและสิ้นใจไป แล้วฟื้นคืนชีพจากความตาย ก็มีความเข้าใจใหม่โดยสิ้นเชิงเกี่ยวกับพระเจ้า แผนการเรื่องความรอดของพระองค์ และการที่พระองค์เชื่อมสัมพันธ์กับผู้มีความเชื่อ

การที่พระคัมภีร์เดิมอ้างอิงถึงความจริงบางอย่าง โดยไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน แล้วความจริงนั้นเริ่มชัดเจนขึ้นในพระคัมภีร์ใหม่ แล้วก็มีการพัฒนาและบ่งบอกชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยบรรพบุรุษของผู้มีความเชื่อ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่านิมิตต่อเนื่อง พระเจ้าได้อธิบายถึงสิ่งต่างๆ ทีละย่างก้าว

ขณะที่ผู้เขียนจากพระคัมภีร์ใหม่บ่งบอกแง่คิดใหม่ไว้อย่างชัดเจน ก็สุดแล้วแต่ผู้คนในศตวรรษต่อๆมา ที่จะพยายามอธิบายว่าสิ่งต่างๆเป็นไปได้อย่างไร

ตลอดประวัติศาสตร์ของคริสเตียน หลักคำสอน และการตีความหมายหลักคำสอน ก็มีบทบาทสำคัญ บ่อยครั้งการพัฒนาหลักคำสอนก็เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็นข้อโต้แย้ง ซึ่งผู้นำกลุ่มผู้มีความเชื่อต้องตัดสิน ภายในช่วงทศวรรษแรกๆของคริสเตียน เมื่อท่านเปาโล และอัครสาวกมีชีวิตอยู่ ผู้นำกลุ่มผู้มีความเชื่อต้องมาประชุมเพื่อถกกัน และตกลงกันในประเด็นต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความแตกแยก

มีบางคนลงมาจากแคว้นยูเดีย ได้สั่งสอนพวกพี่น้องว่า “ถ้าไม่เข้าสุหนัดตามจารีตของโมเสส ท่านจะรอดไม่ได้” เหตุฉะนั้นเมื่อเกิดการโต้แย้งและไล่เลียงกัน ระหว่างเปาโลและบารนาบัส กับคนเหล่านั้นมากมายแล้ว เขาได้ตั้งเปาโลและบารนาบัสกับคนอื่นๆในพวกนั้น ให้ขึ้นไปหารือกับอัครสาวกและผู้ปกครองในกรุงเยรูซาเล็ม ถึงเรื่องที่เถียงกันนั้น ครั้นมาถึงกรุงเยรูซาเล็ม คริสตจักรและอัครสาวกและผู้ปกครองทั้งหลายได้ต้อนรับท่าน แล้วท่านเหล่านั้นจึงเล่าให้เขาฟังถึงเหตุการณ์ทั้งปวงที่พระเจ้าได้ทรงกระทำร่วมกับเขา แต่มีบางคนในพวกฟาริสีที่มีความเชื่อยืนขึ้นกล่าวว่า “คนต่างชาตินั้นควรต้องให้เขาเข้าสุหนัด และสั่งให้เขาถือตามพระราชบัญญัติของโมเสส” ฝ่ายอัครสาวกกับผู้ปกครองทั้งหลายจึงได้ประชุมปรึกษากันในเรื่องนั้น[2]

รากเหง้าของปัญหาก็คือคำถามในด้านศาสนศาสตร์ พระเยซูกล่าวว่าจะมีการประกาศพระกิตติคุณแก่คนต่างชาติ พระองค์บอกเหล่าสาวก ซึ่งล้วนแต่เป็นชาวยิวจากอิสราเอล ให้ออกไปทุกหนทุกแห่งและสร้างสาวกจากคนทั้งปวง[3] ซึ่งหมายความถึงการประกาศต่อคนที่ไม่ใช่ชาวยิว ให้หันมามีความศรัทธา คนอย่างเช่นเปาโล ผู้ซึ่งประกาศพระกิตติคุณทั่วจักรวรรดิโรมัน ชักนำให้คนต่างชาติหันมามีความเชื่อ โดยไม่ได้เรียกร้องให้เขาปฏิบัติตามกฎของชาวยิว ทว่าคริสเตียนบางคนที่มีเชื้อสายยิว เชื่อว่าผู้ที่หันมามีความเชื่อต้องทำตามบัญญัติของโมเสส มีข้อโต้แย้งกันว่าควรจะคาดหมายอะไรจากผู้มีความเชื่อชาวต่างชาติ ในที่สุดผู้อาวุโสต้องมาประชุมกัน เพื่อสะสางปัญหา ทั้งหลักปฏิบัติและหลักคำสอนในเรื่องนี้ ซึ่งเขาได้ทำเช่นนั้น ผลลัพธ์ก็คือให้การเห็นชอบต่อจุดยืนของชาวต่างชาติ (ดู กิจการ บทที่ 15 ทั้งบท)

มีสถานการณ์คล้ายคลึงกันเกิดขึ้น เมื่อวันเวลาผ่านไป เกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับหลักความเชื่อของคริสเตียน มีการโต้เถียงกัน ดังนั้นผู้นำกลุ่มผู้มีความเชื่อจึงจัดประชุมเหล่าบิชอพในขั้นแรก ซึ่งต่อมาอ้างอิงถึงว่าเป็นบรรพบุรุษของผู้มีความเชื่อ[4] เขามาชุมนุมกันในหมู่ที่ปรึกษา เพื่อถกกัน แลกเปลี่ยนความเห็น อธิษฐาน และตัดสินใจ ว่าอะไรคือความศรัทธาของคริสเตียนที่แท้จริง โดยยึดหลักจากพระคัมภีร์ เป็นที่รู้กันในหมู่คริสเตียนว่าพวกเขาคือผู้ที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของวงการโบสถ์ รวมทั้งคาทอลิก ออร์โธด็อกซ์ และโปรแตสแตนท์ในปัจจุบัน ข้อสรุปของบรรพบุรุษในวงการโบสถ์เหล่านี้ เป็นที่ยึดถือว่าจริงแท้ นับตั้งแต่ที่เขาตัดสินความกัน ในช่วงศตวรรษที่สามถึงศตวรรษที่เจ็ด เนื่องจากว่าข้อสรุปของเขายึดหลักจากพระคัมภีร์ และความจริงที่สอนไว้ในพระคัมภีร์

ไม่ใช่หลักคำสอนหรือศาสนศาสตร์ของคริสเตียนทุกอย่างที่เป็นหลักเบื้องต้นและพื้นฐาน ข้อที่ว่าพระเยซูคือพระเจ้า พระองค์ตายเพื่อบาปของเรา การที่พระองค์สิ้นชีวิตเราจึงมีความรอด นี่คือหลักคำสอนพื้นฐาน คนเราต้องเชื่อหลักคำสอนนี้ ถึงจะเป็นคริสเตียน ใครก็เป็นคริสเตียนได้ ถึงแม้เขาจะเชื่อว่าพระองค์จะมารับเราไปภายหลังหรือก่อนหน้าคราวทุกข์ยากครั้งใหญ่ แต่ว่าเขาเป็นคริสเตียนไม่ได้ ถ้าเขาไม่เชื่อว่าพระเยซูตายเพื่อบาปของเขา ดังนั้นก็มีข้อแตกต่างระหว่างหลักคำสอนที่จำเป็น และหลักคำสอนที่ไม่ใช่พื้นฐานแน่นอนของคริสเตียน

ผู้ประพันธ์คนหนึ่งอธิบายไว้ว่า

ถ้าเรานึกภาพว่าระบบศาสนศาสตร์ในความเชื่อของเรา เหมือนกับใยแมงมุม ตรงแกนกลางของใยแมงมุม เป็นศูนย์กลาง มีอาทิเช่น หลักความเชื่อที่ว่าพระเจ้ามีจริง ซึ่งเป็นศูนย์กลางเที่ยงแท้ของใยแมงมุมแห่งความเชื่อ ห่างออกมาอีกนิดหนึ่งก็จะเป็นการที่พระคริสต์มีสภาพของพระเจ้า และการที่พระองค์ฟื้นคืนชีพ ห่างออกมาอีกนิด ก็จะเป็นทฤษฎีเรื่องการไถ่บาป การที่พระองค์ยอมตายแทนบาปของเรา ... นี่หมายความว่าถ้าความเชื่อที่เป็นศูนย์กลางอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ความเชื่อที่ว่าพระเจ้ามีจริง หรือพระเยซูฟื้นคืนชีพ ขาดหายไป ถ้าส่วนหนึ่งของใยแมงมุมถูกแยกออกไป ใยแมงมุมก็จะพังลงหมด เพราะเมื่อคุณเอาส่วนใดออกจากศูนย์กลาง ใยแมงมุมส่วนที่เหลือก็ไม่มีอะไรยึด แต่ถ้าคุณดึงเส้นที่อยู่รอบนอกออกไปสักเส้นหนึ่ง ก็จะเกิดภาวะสั่นสะเทือนต่อใยแมงมุมแห่งความเชื่อของเรา แต่จะไม่ทำลายใยแมงมุมทั้งหมด[5]

โดยส่วนตัวแล้ว การศึกษาหัวข้อเหล่านี้ และแง่มุมอื่นๆในหลักคำสอนของคริสเตียน เพื่อจัดเตรียมข้อเขียนชุดนี้ ช่วยให้ผมเห็นคุณค่าความรักและการเสียสละของพระเยซูมากขึ้นอย่างยิ่ง พระองค์ต้องเอาอะไรเข้าแลก เพื่อมอบโอกาสการรับความรอดให้แก่มนุษย์ ผมพบว่าการเรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติมข้อนี้ และหัวข้ออื่นๆที่ผมหวังว่าจะเขียนในอนาคต ก็ช่วยก่อร่างและเสริมสร้างความศรัทธาของผม และความเข้าใจเกี่ยวกับพระเจ้า ผมขออธิษฐานว่าบทความชุดนี้ และบทความทำนองเดียวกันในอนาคต จะส่งผลต่อคุณเช่นเดียวกัน

ถ้าคุณประสงค์ที่จะศึกษาหัวข้อเหล่านี้เพิ่มเติม ผมขอแนะนำให้อ่านหนังสือ หรือฟังคำบรรยายที่ระบุไว้ในบรรณานุกรมทั่วไปตอนท้ายบทความ เรื่องที่จะโพสต์ในอนาคต ผมกะว่าจะครอบคลุมหัวข้อเรื่องพระคัมภีร์ และความน่าเชื่อถือทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะส่วนที่กล่าวไว้อย่างไรบ้างเกี่ยวกับพระเยซู อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณประสงค์ที่จะศึกษาหัวข้อนี้เพิ่มเติมทันที ผมขอแนะนำให้อ่านเรื่อง The Case for Christ โดย ลี สโตรเบล (พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ซอนเดอร์แวน ปี 1998) หนังสือเล่มนี้ครอบคลุมแง่มุมสำคัญนานับประการเกี่ยวพระเยซู ในแง่ที่อ่านง่าย และเข้าใจได้

ผมหวังว่าบทความเหล่านี้จะช่วยให้เข้าใจพื้นฐานที่มั่นคงของหลักคำสอน ซึ่งเป็นที่เข้าใจและยอมรับกันโดยทั่วไปในหมู่คริสเตียน

ขณะที่ศึกษาค้นคว้า ผมเปรียบเทียบคำสอนของนักศาสนศาสตร์จากนิกายโปรแตสแตนท์ใหญ่ๆ หรือแนวคิดต่างๆ เช่น ลูเธอร์แรน รีฟอร์ม (คาลวินิสต์) แบพติสท์ เวสลีย์ แองลิกัน คาริสเมติค และอาร์มิเนีย รวมทั้งคำสอนของนิกายโรมันคาทอลิก เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ในการอธิบายหลักคำสอน ผมพยายามเสนอความเชื่อทั่วๆไปของทุกคน จะมีเชิงอรรถในบทความโดยตลอด พร้อมกับข้ออ้างอิง ทั้งคำกล่าวโดยตรงที่ผมใช้ รวมทั้งข้อความที่ผมเรียบเรียงใหม่จากที่ผู้ประพันธ์เขียนไว้ เมื่อนำคำแถลง หรือข้อพระคัมภีร์มาใช้ “พิสูจน์” ผมตรวจสอบข้ออ้างอิงเพื่อให้แน่ใจว่านักศาสนศาสตร์ต่างๆได้แถลงเหมือนกัน และใช้ข้อพระคัมภีร์เดียวกัน บรรณานุกรมตอนท้ายระบุหนังสือ บทความ และคำบรรยายที่ผมศึกษาค้นคว้า

ถ้าหากไม่ได้ระบุไว้ ข้อพระคัมภีร์ที่เอ่ยอ้างมาจาก English Standard Version (ESV) เหตุผลที่ผมเอ่ยอ้างจาก ESV ส่วนใหญ่ ก็เพราะโดยทั่วไปแล้วถือว่าเป็นพระคัมภีร์เล่มที่เหมาะมากสำหรับศึกษา ในแง่ของความถูกต้องและตรงตามเนื้อหาดั้งเดิม ซึ่งผมรู้สึกว่าสำคัญสำหรับบทความเหล่านี้ ถ้าพบข้อความในพระคัมภีร์จากฉบับอื่นที่ดูชัดเจนกว่า ผมก็เลือกใช้ฉบับอื่น และระบุไว้ในเชิงอรรถว่าเป็นฉบับไหน

ผมขออธิษฐานว่าเรื่องชุดนี้จะมอบข้อมูล น่าสนใจ มีประโยชน์ต่อคุณ และช่วยเพิ่มพูนศรัทธาให้แก่คุณ



[1] 1 เปโตร 3:15 เตรียมตัวไว้ให้พร้อมเสมอ เพื่อท่านจะได้ตอบทุกคนที่ถามท่าน

[2] กิจการ 15:1-2, 4-6

[3] มัทธิว 28:19 เหตุฉะนั้นท่านจงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติ ให้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์

[4] ช่วงเวลานี้เรียกกันว่า patristic ตามคำภาษาลาตินที่ว่า pater หมายถึงบิดา (บรรพบุรุษ)

[5] วิลเลียม เลน เครก “What Is Inerrancy?” ออกอากาศผ่านไซท์ reasonablefaith.org

Copyright © 2024 The Family International. นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการใช้งานคุกกี้