หัวใจสำคัญ: การจุติมาเกิด (ตอนที่ 3)

โดย ปีเตอร์ อัมสเตอร์ดัม

กรกฎาคม 12, 2011

ในบทความก่อนหน้านี้ เราได้พิจารณากันว่าบรรพบุรุษของโบสถ์ในช่วงเจ็ดศตวรรษแรก กำหนดหลักคำสอนเรื่องการจุติมาเกิดอย่างไร เราได้เห็นคำสอนต่างๆ ซึ่งพยายามอธิบาย “กลไก” ว่าเป็นไปอย่างไร การที่พระเยซูผู้เป็น Logos คือพระบุตรผู้เป็นพระเจ้า เป็นมนุษย์เต็มตัวเช่นกัน คณะที่ปรึกษาโบสถ์ประณามคำสอนหลายอย่างว่าเป็นเรื่องเท็จ เมื่อมีการโต้แย้งและถกกันเกี่ยวกับคำสอนต่างๆ ก็มีการตกลงกันถึงภาษาที่ใช้ เพื่ออธิบายหลักคำสอน หรือในบางกรณี เพื่อกำหนดขอบเขตในการถกกันเพิ่มเติม หลังจากช่วงเวลานี้ การโต้แย้งเกี่ยวกับการจุติมาเกิดของพระคริสต์ ยุติลงโดยทั่วไป เป็นเวลากว่าหนึ่งพันปีแล้ว

การเปลี่ยนจากคณะที่ปรึกษาโบสถ์สากล เป็นการแบ่งแยกกัน

เมื่อหลักความเชื่อคริสเตียนพัฒนา และมีการแผ่ขยายออกไป ในช่วงห้าร้อยปีแรก ก็มีการพัฒนาศูนย์ศาสนศาสตร์ขึ้นมา สองแห่งแรกสุดคือที่ อันติออค (ปัจจุบันคือตุรกี) และอเล็กซานเดรีย (ในอียิปต์) ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ที่ภาคตะวันออกของจักรวรรดิโรม เมื่อวันเวลาผ่านไป กรุงโรม ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของจักรวรรดิ กลายเป็นศูนย์กลางเช่นกัน มีการสอนศาสนศาสตร์จากแง่คิดต่างๆเกิดขึ้นในศูนย์ดังกล่าว ซึ่งบ่อยครั้งก็ขัดแย้งกัน ดังที่เราได้เห็น จึงมีการจัดประชุมคณะที่ปรึกษา เพื่อกำหนดว่าจุดยืนด้านศาสนศาสตร์ใดที่เป็นจริง เมื่อตัวแทนจากโบสถ์ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกมาชุมนุมกัน ในการประชุมคณะที่ปรึกษาเช่นนี้ จึงถือว่าเป็นการประชุมคณะที่ปรึกษาโบสถ์สากล หมายความว่าบิชอพจากโบสถ์คริสเตียนทั้งหมดมาชุมนุมกัน ไม่ใช่แค่บิชอพในเขตหนึ่ง มีการประชุมคณะที่ปรึกษาอื่นๆอีกหลายครั้ง ตลอดหลายศตวรรษ แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่การประชุมคณะที่ปรึกษาโบสถ์สากล เพราะโดยทั่วไปแล้วมีเพียงตัวแทนในท้องถิ่นหรือในเขต มีการประชุมคณะที่ปรึกษาเจ็ดครั้ง ที่ทั้งโบสถ์ตะวันตกและตะวันออก ถือว่าเป็นการประชุมคณะที่ปรึกษาโบสถ์สากล

ถึงแม้ว่าจะมีข้อแตกต่างอยู่บ้าง ในความเข้าใจและการตีความหมายข้อพระคัมภีร์ ระหว่างโบสถ์ในภาคตะวันตกและภาคตะวันออกของจักรวรรดิ ในช่วงแรกๆนี้ โดยทั่วไปแล้วโบสถ์ผนึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีการแยกตัวออกไปบ้าง ซึ่งยังคงเป็นเช่นนั้น แต่โดยรวมโบสถ์ตะวันตกและตะวันออกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

บิชอพจากภาคตะวันตกและตะวันออกมาประชุมกัน เพื่อกำหนดเรื่องหลักคำสอน อีกหลายศตวรรษต่อมา ด้วยเหตุผลต่างๆ โบสถ์ตะวันตกและตะวันออกเริ่มแยกตัวออกจากกัน ในแง่ทรรศนะและการนำทฤษฎีมาปฏิบัติ ในผลที่สุด เมื่อปี ค.ศ.1054 โบสถ์ก็แยกตัวกันอย่างเป็นทางการ ยังผลให้มีโบสถ์สองฝ่าย คือโบสถ์ออร์โธด็อกซ์ตะวันออก ซึ่งมีผู้นำอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิล และโบสถ์โรมันคาทอลิก ซึ่งมีผู้นำอยู่ที่กรุงโรม ทั้งโบสถ์ออร์โธด็อกซ์ตะวันออก และโบสถ์โรมันคาทอลิก ต่างก็ยึดถือหลักคำสอนที่กำหนดขึ้นโดยคณะที่ปรึกษาโบสถ์สากลเจ็ดครั้งแรก ฉะนั้นจึงเห็นพ้องต้องกันอย่างเต็มที่ ในคำสอนหลักของคริสตศาสนา อย่างไรก็ตาม นับจากนั้น คณะที่ปรึกษาโบสถ์สากลที่จัดขึ้น ประกอบด้วยบิชอพจากโบสถ์โรมันคาทอลิกเท่านั้น ฉะนั้นจึงไม่ถือว่าเป็นการประชุมโบสถ์สากล เหมือนสมัยแรกๆ

การปฏิรูปและกำเนิดนิกายโปรแตสแตนท์

ในปี ค.ศ.1517 มีองค์ประกอบใหม่ระเบิดตัวครั้งใหญ่ในโลกคริสเตียน มาร์ติน ลูเทอร์ นักบวชโรมันคาทอลิกในเยอรมัน นำเสนอการตีความหมายข้อพระคัมภีร์ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วแตกต่างจากแง่คิดของโบสถ์โรมันคาทอลิกที่พัฒนาขึ้นมาในสมัยนั้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นสมัยการปฏิรูปในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อคริสตศาสนา เราไม่ขอแจกแจงรายละเอียดปลีกย่อย ทว่าแง่คิดของลูเทอร์แตกต่างไปความเชื่อของโรมันคาทอลิก โดยพื้นฐานสองแง่ เขาเชื่อว่าข้อพระคัมภีร์สอนว่าความรอดมาจากศรัทธาเท่านั้น ซึ่งคัดค้านแง่คิดของโรมันคาทอลิกที่ว่า ความรอดมาจากความศรัทธาและการกระทำ นอกจากนี้เขายังสอนด้วยว่าข้อพระคัมภีร์เท่านั้น คือตัวชี้ขาดในหลักคำสอนและความเชื่อ ซึ่งคัดค้านความเชื่อของโรมันคาทอลิกว่า นอกเหนือจากข้อพระคัมภีร์แล้ว คำสอนของโบสถ์ โดยเฉพาะที่สันตะประปาประกาศ นั่นเป็นจริง ซึ่งมีจุดยืนและอำนาจเท่าเทียมกับข้อพระคัมภีร์ แง่คิดของลูเทอร์ ทำให้เขาถูกตัดขาดจากโบสถ์โรมันคาทอลิก

ในช่วงเวลาเดียวกัน มีนักปฏิรูปอื่นๆ เช่น ฮัลดริช ซวิงลี ที่ซูริค และจอห์น คาลวิน ที่เจนีวา ก็แยกตัวออกมาจากโบสถ์คาทอลิกเช่นกัน แล้วเริ่มพัฒนาหลักศาสนาและหลักความเชื่อ ซึ่งแตกต่างจากหลักคำสอนของโรมันคาทอลิก โดยทั่วไปนิกาย “โปรแตสแตนท์” ครอบคลุมคริสเตียนทุกคนที่เชื่อในความรอดด้วยศรัทธาเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งสำคัญที่จะทราบว่าฝ่ายปฏิรูปล้วนเห็นพ้องกับหลักคำสอนพื้นฐาน ซึ่งมาจากการประชุมคณะที่ปรึกษาโบสถ์สากลเจ็ดครั้ง ปัจจุบันนิกายโปรแตสแตนท์ขัดแย้งกันเองในบางประเด็น แต่โดยทั่วไปแล้วเขาเห็นพ้องกันในหลักคำสอนเรื่องการจุติมาเกิด ถึงแม้ว่าโปรแตสแตนท์ในอดีตและปัจจุบัน มีหลักศาสนาแตกต่างกันกับโรมันคาทอลิก และโบสถ์ออร์โธด็อกซ์ตะวันออก แต่เขาเห็นพ้องกันในหลักเบื้องต้นของตรีเอกานุภาพและการจุติมาเกิด คือพระเยซูเป็นพระเจ้าเต็มตัว และเป็นมนุษย์เต็มตัว ดังที่บ่งบอกไว้ในคณะที่ปรึกษานีเซียก่อนหน้านั้น ที่คอนสแตนติโนเปิล และชาลเซดอน

ข้อแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างพวกโบสถ์ ก่อนการปฏิรูปและหลังการปฏิรูป ก็คือ ไม่มีการรวมตัวของฝ่ายใดอีกต่อไป เพื่อร่วมกันกำหนดว่าหลักคำสอนใหม่ข้อใด เป็นจริงและเป็นเท็จ เหมือนที่เกิดขึ้นในช่วงหกศตวรรษแรกของโบสถ์ ในอดีตเมื่อมีคำสอนใดผิด ก็มีการประกาศหักล้างและประณามอย่างเป็นทางการ ว่าเป็นเท็จ โดยคณะที่ปรึกษาโบสถ์สากล คำตัดสินนี้เป็นที่ยอมรับของคริสเตียนส่วนใหญ่ในสมัยนั้น นับจากสมัยการปฏิรูป ก็ไม่มีฝ่ายสากลกลุ่มใดอันเป็นที่ยอมรับ ซึ่งทำการตัดสินเช่นนั้น (โรมันคาทอลิกจัดประชุมคณะที่ปรึกษาสากลต่อไป แต่คณะที่ปรึกษาดังกล่าวรวมเฉพาะฝ่ายโปรแตสแตนท์และออร์โธด็อกซ์ ในฐานะผู้สังเกตการณ์ โดยไม่มีสิทธิออกเสียงในเรื่องที่ตกลงกัน ฉะนั้นโบสถ์โปรแตสแตนท์และออร์โธด็อกซ์ จึงไม่ยึดถือคำตัดสินและคำประกาศดังกล่าว) ฉะนั้นคำสอนเท็จในศตวรรษหลังๆ จึงไม่มีการประณามอย่างเป็นทางการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ใช่เป็นคำสอนเท็จ

หลักศาสนาเสรี

มีคำสอนและการคาดคะเนหลายอย่าง เกี่ยวกับการจุติมาเกิดของพระคริสต์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่สิบเก้าและยี่สิบ ในช่วงเวลาระหว่างการปฏิรูปและปลายศตวรรษที่สิบแปด บ่อยครั้งประวัติศาสตร์อ้างอิงว่าเป็นยุคแห่งการรู้แจ้ง โลกตะวันตกเปลี่ยนไปอย่างกลับตาปัตร มีการค้นพบโลกใหม่ มีการทดสอบระบอบปกครองรูปแบบใหม่ มีความคืบหน้าอย่างกว้างขวางในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ เกษตรกรรม และปรัชญา โดยทั่วไปแล้ว โลกตะวันตกรวบรวมความรู้ใหม่ๆมากมาย ซึ่งหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงความรู้ในอดีตตลอดหลายพันปีที่ผ่านมา ตลอดช่วงเวลาดังกล่าวคริสตศาสนาและโบสถ์ ไม่เป็นที่นับถืออย่างสูง เหมือนกับในอดีต ผู้คนเริ่มสงสัยข้องใจมากขึ้นเรื่องความศรัทธาในพระเจ้า

ตอนปลายศตวรรษที่สิบแปด และทวีคูณขึ้นในศตวรรษที่สิบเก้า หลักคำสอนเรื่องการจุติมาเกิดโดดเด่นขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากมีความรู้ใหม่หลายด้านๆ ในการนึกคิดและการค้นพบ นักศาสนศาสตร์หลายคนจึงหาทางที่จะอธิบายหลักคำสอนให้ดีขึ้น ในทางที่สอดคล้องกับความนึกคิดสมัยใหม่มากขึ้น ถึงแม้ว่าบ้างจะกลายเป็นการผันแปรมาจากคำสอนที่เคยถูกประณามไว้ในช่วงหกศตวรรษแรก เราจะศึกษาบางส่วนโดยทั่วๆไป

ตอนปลายศตวรรษที่สิบแปด ข้อที่น่าสังเกตที่สุดคือผลงานของนักศาสนศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ ฟรีเดอริค ชไลเออมาเคอร์ (ค.ศ.1768-1834) มีการแยกตัวไป โดยมองที่ตัวพระคริสต์ จากแง่มุมศาสนศาสตร์ของมนุษย์ผู้เป็นพระเจ้า โดยมีสองสภาพ ไปสู่แง่มุมประวัติศาสตร์มากกว่า โดยเน้นย้ำที่สภาพมนุษย์ของพระเยซู นำไปสู่การที่พระเยซูเป็นมนุษย์ที่มาจากพระเจ้า แต่ไม่ใช่พระเจ้า พระองค์เป็นมนุษย์ผู้ “มีสำนึกของพระเจ้า” ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่พิเศษ โดยผนึกกับสภาพเบื้องบนอย่างเพียบพร้อม และไม่แตกแยก ส่วนการจุติมาเกิดนั้นเล็งเห็นว่าคือความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้าและมนุษย์[1]

อิทธิพลจากชไลเออมาเคอร์แผ่ขยายไปจนถึงกลางศตวรรษที่สิบเก้า ในคำสอนของ อัลเบรชต์ ริทเชล (ค.ศ.1822-1889) นักศาสนศาสตร์ชาวเยอรมันอีกคนหนึ่ง สอนว่าพระเยซูเป็นเพียงมนุษย์ แต่เนื่องจากผลงานของพระองค์ และการรับใช้มนุษยชาติ ก็สมควรแล้วที่จะถือว่าเป็นพระเจ้า เขาไม่เชื่อว่าพระเยซูคือ Logos ก่อนมาจุติ เขาไม่เชื่อเรื่องการจุติมาเกิด และการประสูติจากสาวพรหมจารี พระเยซูรับความประสงค์ของพระเจ้าไว้เป็นของพระองค์เอง ในตอนนี้ ไม่ด้วยทางใดก็ทางหนึ่ง พระองค์จูงใจมนุษย์ให้ก้าวเข้าสู่คริสตศาสนา และชุมชนคริสเตียน พระองค์ไถ่ถอนมนุษย์ด้วยคำสอน แบบอย่าง และแรงชักจูงที่มีเอกลักษณ์พิเศษสุด ฉะนั้นจึงควรค่าที่จะได้ชื่อว่าเป็นพระเจ้า[2]

ชไลเออมาเคอร์ และริทเชล เท่านั้นที่เชื่อและสอนสิ่งเหล่านี้ ทว่าเขาเป็นคนที่มีแรงชักจูงมากที่สุด

มีนักศาสนศาสตร์เยอรมันหลายคน ระหว่างปี ค.ศ. 1860 และ 1880 กับหลายคนจากอังกฤษ ราวๆ ปี ค.ศ.1890-1910 ส่งเสริมแง่คิดเรื่องการจุติมาเกิด ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในประวัติศาสตร์ของโบสถ์ โดยเรียกกันว่าทฤษฎี kenotic

Kenosis มีพื้นฐานจากสิ่งที่อัครสาวกเปาโลเขียนถึงชาวฟิลิปปี ว่า

ท่านจงมีน้ำใจอย่างนี้ เหมือนอย่างที่พระเยซูคริสต์ทรงมีด้วย พระองค์ผู้ทรงอยู่ในสภาพพระเจ้า มิได้ทรงเห็นว่าการเท่าเทียมกับพระเจ้านั้น เป็นการแย่งชิงเอาไปเสีย แต่ได้ทรงกระทำพระองค์เองให้ไม่มีชื่อเสียงใดๆ และทรงรับสภาพอย่างผู้รับใช้ ทรงถือกำเนิดในลักษณะของมนุษย์[3]

ทฤษฎี kenotic เอ่ยอ้างว่าพระคริสต์ทรงสละคุณสมบัติจากเบื้องบนบางอย่าง เช่น การล่วงรู้ทุกสิ่ง การสถิตอยู่ทุกหนทุกแห่ง และการมีอำนาจทั้งสิ้น ขณะที่พระองค์อยู่บนโลก ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานจากคำในภาษากรีก Kenooซึ่งแปลว่า “ปลดเปลื้อง” ในกรณีนี้แปลว่า “ปลดเปลื้องตัวเอง”

นักศาสนศาสตร์ชื่อ เวนน์ กรูเดม อธิบายข้อโต้แย้งที่คัดค้าน kenosis เป็นอย่างดี เมื่อเขาเขียนไว้ว่า

แต่ใน ฟิลิปปี 2:7 สอนไว้ว่าพระคริสต์ปลดเปลื้องคุณสมบัติเบื้องบนบางอย่างจากตัวเอง แล้วพระคัมภีร์ใหม่ทั้งหมดกล่าวยืนยันข้อนี้หรือเปล่า หลักฐานจากข้อพระคัมภีร์ชี้ไปยังคำตอบแง่ลบ ต่อทั้งสองคำถาม ก่อนอื่นเราต้องตระหนักว่าไม่มีอาจารย์ท่านใดเป็นที่ยอมรับ ในช่วง 1,800 ปีแรกของประวัติศาสตร์โบสถ์ รวมทั้งผู้ที่พูดภาษากรีกมาแต่กำเนิด คิดว่า “พระองค์ทำให้ตัวเองไม่มีชื่อเสียงใดๆ” ในฟิลิปปี 2:7 หมายความว่าพระบุตรของพระเจ้าสละคุณสมบัติเบื้องบนบางอย่าง ประการที่สอง เราต้องสำนึกว่าในเนื้อหานั้นไม่ได้กล่าวว่าพระคริสต์ “ปลดเปลื้องอำนาจบางส่วน” หรือ “สละคุณสมบัติเบื้องบน” หรืออะไรทำนองนั้น พระองค์ไม่ได้ทำเช่นนั้น โดยสละคุณสมบัติใดๆไป ทว่าเพียง “รับสภาพเป็นผู้รับใช้” โดยมาใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ “เมื่อทรงปรากฏพระองค์ในสภาพมนุษย์แล้ว พระองค์ก็ทรงถ่อมพระองค์ลง ยอมเชื่อฟังจนถึงมรณา กระทั่งความมรณาที่กางเขน” (ฟิลิปปี 2:8) ฉะนั้นในเนื้อหานั้นตีความหมาย “ปลดเปลื้อง” ว่าเทียบเท่ากับ “ถ่อมตัวเอง” และรับสภาพต่ำต้อย ฉะนั้นพระคัมภีร์ฉบับ NIV จึงแปลข้อความว่า “พระองค์ทำให้ตัวเองไม่มีชื่อเสียง” เป็น “ทำให้ตัวเองไม่มีค่าอะไร” (ฟิลิปปี 2:7 NIV) การปลดเปลื้องรวมไปถึงการเปลี่ยนบทบาทและสภาพ ไม่ใช่คุณสมบัติหรือธรรมชาติ[4]

นักศาสนศาสตร์ kenotic บางท่าน ตีความหมายข้อความใน ฟิลิปปี 2:7 ว่าหมายถึงการที่ Logos สละคุณสมบัติเบื้องบนทุกอย่าง บ้างถึงกับกล่าวว่าเมื่อพระบุตรผู้เป็นพระเจ้ากลายเป็นมนุษย์ พระองค์ไม่มีสำนึกในสภาพเบื้องบน และไม่ได้สถิตอยู่ร่วมกับพระบิดาและพระวิญญาณอีกต่อไป ดังนั้นตรีเอกานุภาพจึงมีผลกระทบอย่างลึกซึ้ง จากการจุติมาเกิด

Kenosis ปฏิเสธการจุติมาเกิด เพราะถ้าพระคริสต์สละคุณสมบัติเบื้องบนบางอย่าง พระองค์ก็ไม่ใช่พระเจ้าอีก ใน ฟิลิปปี บทที่ 2 เปาโลกล่าวกับคริสเตียนในฟิลิปปี โดยสอนเขาเรื่องความถ่อมตน และใช้แบบอย่างของพระเยซู การที่พระองค์ไม่ได้ยึดติดหรือเกาะสง่าราศีจากสวรรค์เอาไว้ ทว่าพระองค์ถ่อมตนรับสภาพผู้รับใช้ พระองค์สละสง่าราศีจากสวรรค์ พระองค์สละฐานันดรในสวรรค์ แทนที่จะปลดเปลื้องคุณสมบัติจากเบื้องบน นี่เป็นการกระทำด้วยความรักความเมตตา โดยสมัครใจ ไม่มีหลักฐานใดในพระคัมภีร์ที่บอกว่าพระเยซูสละคุณสมบัติเบื้องบนของพระองค์

ไอแซค ออกัสต์ ดอร์เนอร์ (ค.ศ.1809-1884) ชาวเยอรมันนิกายลูเธอร์แรน คัดค้านทฤษฎี kenotic อย่างแข็งขัน เขาสอนว่าพระเยซูคือพระเจ้าจุติมาเกิด แต่เสนอทฤษฎี การจุติมาเกิดก้าวหน้า ทฤษฎีของเขาแถลงว่า “ไม่ควรเล็งเห็นว่าการจุติมาเกิดเป็นการสิ้นสุด นับจากจุดเริ่มต้น ทว่าเป็นการค่อยๆพัฒนาไปเรื่อยๆ”[5] เขาสอนว่าตอนแรกในชีวิตพระเยซู พระองค์ไม่ใช่มนุษย์ผู้เป็นพระเจ้า ทว่าเมื่อพระเยซูยินยอมต่อพระบิดาในทุกสิ่ง Logos ก็ค่อยๆแทรกซึมเข้าสู่สภาพมนุษย์ของพระองค์ การแทรกซึมอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ในขั้นสุดท้ายก็คือการฟื้นคืนชีพ ปรากฏว่านี่คือรูปแบบหนึ่งของ Nestorianism คือการมีสองบุคคลในพระคริสต์

นักศาสนศาสตร์หัวอิสระในศตวรรษที่สิบเก้าและยี่สิบ โดยทั่วไปแล้วถือกันว่าการจุติมาเกิดเป็นตำนาน เขาสอนว่าพระเยซูเป็นเพียงมนุษย์ ผู้มีสัมพันธภาพที่พิเศษกับพระเจ้า ในหนังสือ The Myth of God Incarnateจอห์น ฮิค แถลงไว้ว่า

พระเยซูคือ “มนุษย์ผู้ได้รับความเห็นชอบจากพระเจ้า” ให้รับบทบาทพิเศษ ภายในวัตถุประสงค์จากเบื้องบน ต่อมาปฏิสนธิเป็นพระเจ้าจุติมาเกิด เป็นบุคคลที่สองในตรีเอกานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ ดำเนินชีวิตเยี่ยงมนุษย์ คือการบ่งบอกตำนานหรือสุนทรีย์ ว่าพระองค์มีความสำคัญต่อเรา[6]

ความเชื่อดังกล่าวปฏิเสธว่าพระคริสต์มีสภาพพระเจ้า และหลักคำสอนเรื่องตรีเอกานุภาพ

บทสรุป

เราเห็นได้จากข้อพระคัมภีร์ว่าพระเยซูคือพระเจ้า และกลายเป็นมนุษย์ด้วย พระเจ้าจุติมาเกิด ทว่าไม่มีใครล่วงรู้อย่างถ่องแท้ว่า การจุติมาเกิดเป็นไปเช่นไร และการผนึกกันของสองสภาพ ดำเนินงานอย่างไรในตัวพระคริสต์ นี่เหนือล้ำขอบเขตความเข้าใจของมนุษย์ คริสเตียนออร์โธด็อกซ์ทั่วไป ยึดถือคำจำกัดความของชาลเซดอน ซึ่งกำหนดขอบเขตไว้ แต่ไม่ได้อธิบายว่าเป็นไปอย่างไร ในฐานะคริสเตียน ดูเหมือนว่าเป็นการปลอดภัยที่จะดำเนินการอยู่ภายในขอบเขตดังกล่าว ได้แก่

วิถีทางของพระเจ้ายิ่งใหญ่และเร้นลับ ไม่มีใครปฏิเสธได้ ว่า พระเจ้าทรงปรากฏเป็นร่างมนุษย์ พระวิญญาณได้พิสูจน์แล้ว เหล่าทูตสวรรค์ก็เห็น และมีผู้ประกาศแก่ชนชาติต่างๆ มีชาวโลกเชื่อถือพระองค์ และพระองค์ถูกรับขึ้นไปด้วยสง่าราศี[7]

หลักคำสอนเรื่องตรีเอกานุภาพ สภาพพระเจ้าของพระคริสต์ และการจุติมาเกิดของพระคริสต์ เป็นส่วนสำคัญในพื้นฐานความเชื่อคริสเตียน ผมขออธิษฐานว่าบทความแรกๆในชุด หัวใจสำคัญจะช่วยให้คุณมีความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับหลักคำสอนดังกล่าว 

ขอให้พระองค์ผู้ช่วยให้รอดผู้แสนวิเศษ และน่าอัศจรรย์ใจ พระเยซูผู้เปี่ยมด้วยความรัก บุคคลที่สองในตรีเอกานุภาพ พระบุตรผู้เป็นพระเจ้า Logos ผู้สถิตอยู่ก่อนตราบชั่วนิรันดร์ พระคำของพระเจ้า พระองค์ผู้รักเราอย่างสุดซึ้ง ผู้ห่วงใยเราในทุกๆทาง ผู้เลือกที่จะทนทุกข์และยอมตายเพื่อบาปของเรา อวยพรคุณแต่ละคนอย่างล้นเหลือ ทุกๆวัน!

สรุปบทความเรื่อง “การจุติมาเกิด”


บรรณานุกรม

คาร์ล บาร์ธ The Doctrine of the Word of God เล่ม 1 ตอนที่ 2 สำนักพิมพ์ Peabody: Hendrickson Publishers ค.ศ.2010

หลุยส์ เบอร์คอฟ Systematic Theology สำนักพิมพ์ Grand Rapids: Wm. B. Eerdmans Publishing Company ค.ศ. 1996

ฟิลลิป แครีย์ ชุดคำบรรยาย The History of Christian Theologyชุดที่ 11 และ 12 สำนักพิมพ์ Chantilly: The Teaching Company ค.ศ. 2008

เลน วิลเลียม เคร็ก ชุดคำบรรยาย Defenders หัวข้อ The Doctrine of Christ

ลีโอ เจมส์ การ์เร็ต จูเนียร์ Systematic Theology, Biblical, Historical, and Evangelical เล่ม 1 สำนักพิมพ์ N. Richland Hills: BIBAL Press ค.ศ. 2000

เวย์น กรูเดม Systematic Theology, An Introduction to Biblical Doctrine สำนักพิมพ์ Grand Rapids: InterVarsity Press ค.ศ. 2000

ปีเตอร์ ครีฟท์ และ โรนัลด์ เค. เทเซลลี Handbook of Christian Apologeticsสำนักพิมพ์Downers Grove: InterVarsity Press ค.ศ. 1994

กอร์ดอน อาร์. ลูวิส และ บรูซ เอ. เดมาเรสต์ Integrative Theology สำนักพิมพ์ Grand Rapids: Zondervan ค.ศ. 1996

บรูซ มิลเน่ Know the Truth, A Handbook of Christian Beliefสำนักพิมพ์ Downers Grove: InterVarsity Press ค.ศ. 2009

จอห์น ธีโอดอร์ มูลเลอร์ Christian Dogmatics, A Handbook of Doctrinal Theology for Pastors, Teachers, and Laymen สำนักพิมพ์ St. Louis: Concordia Publishing House ค.ศ. 1934

ลุดวิก อ็อต Fundamentals of Catholic Dogma สำนักพิมพ์ Rockford: Tan Books and Publishers, Inc. ค.ศ. 1960

ยอห์น สต็อต Basic Christianity สำนักพิมพ์ Downers Grove: InterVarsity Press ค.ศ. 1971

ร็อดแมน เจ. วิลเลียมส์ Renewal Theology, Systematic Theology from a Charismatic Perspective สำนักพิมพ์ Grand Rapids: Zondervan ค.ศ. 1996


[1] หลุยส์ เบอร์คอฟ Systematic Theology (สำนักพิมพ์ Grand Rapids: Wm. B. Eerdmans Publishing Company ปี ค.ศ. 1996) หน้า 309

[2] หลุยส์ เบอร์คอฟ Systematic Theology (สำนักพิมพ์ Grand Rapids: Wm. B. Eerdmans Publishing Company ปี ค.ศ. 1996)  หน้า 310

[3] ฟิลิปปี 2:5-7

[4] เวนน์ กรูเดม Systematic Theology, An Introduction to Biblical Doctrine (สำนักพิมพ์ Grand Rapids: InterVarsity Press ปี ค.ศ. 2000) หน้า 550

[5] ไอ. ดอร์เนอร์ System of Christian Doctrine เล่มที่ 3 (สำนักพิมพ์ Edinburgh: T. & T. Clark ปี ค.ศ. 1880–82) หน้า 340

[6] จอห์น ฮิค เอ็ด. The Myth of God Incarnate (สำนักพิมพ์ Philadelphia: Westminster ปี ค.ศ. 1977) ข้อ 9 เอ่ยอ้างไว้ในหนังสือของ Williams, J. Rodman. Renewal Theology, Systematic Theology from a Charismatic Perspective. สำนักพิมพ์ Grand Rapids: Zondervan ปี ค.ศ. 1996 หน้า 326n115

[7] 1 ทิโมธี 3:16

Copyright © 2024 The Family International. นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการใช้งานคุกกี้